บริการออกแบบแสงสว่าง
การออกแบบแสงสว่าง คือ จะต้องออกแบบให้มีระดับความส่องสว่างสอดคล้องกับมาตรฐาน สำหรับมาตรฐานกำหนดค่าความส่องสว่างขั้นต่ำที่ได้รับการยอมรับในทางวิศวกรรมสำหรับพื้นที่ใช้งานแต่ละประเภท คือ “มาตรฐานจากสมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย” หรือ TIEA ซึ่งมาตรฐาน TIEA นี้ได้อ้างอิงตามมาตรฐานสากลของ CIE (Commission International del’ Eclairage)
การออกแบบระบบแสงสว่างต้องคำนึงถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความสว่างที่เหมาะสมในพื้นที่ที่จะใช้งาน เพื่อสร้างระบบแสงสว่างที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งานพร้อมไปกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ โดยวิธีการคํานวณแสงสว่างในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีหลักๆ ดังนี้
วิธีการคำนวณแบบลูเมนท์ (Lumen Method)
วิธีการคำนวณแบบลูเมนท์ คือ การคำนวณค่าปริมาณความส่องสว่างทั้งหมดของห้องตามมาตรฐาน IES (Illumination Engineering Society) เพื่อหาปริมาณจำนวนดวงโคมที่ต้องติดตั้งภายในห้องนั้น
วิธีคำนวณแบบจุดต่อจุด (Point By Point Method)
วิธีคำนวณแบบจุดต่อจุด คือ การคำนวณหาความส่องสว่างทีละจุดๆ ตามที่ต้องการ ซึ่งจะเน้นไปที่พื้นที่นั้นๆ โดยเฉพาะ ซึ่งตัวแปรสำคัญสำหรับการคำนวณด้วยวิธีนี้คือ กราฟกระจายแสงของโคม เนื่องจากเป็นการคำนวณบนพื้นที่เล็กๆ แบบจุดใดจุดหนึ่งบนพื้นงาน ซึ่งกราฟกระจายแสงของโคมจะแสดงค่าความเข้มของแสงที่กระจายไปในแต่ละทิศแต่ละทางของหลอดหรือดวงโคมนั้นๆ นั่นเอง
คลังสินค้า / โกดังเก็บของ
จำลองค่าความสว่างจากโคมไฮเบย์ ทั้งพื้นที่โล่งหรือมีแร็คป้ายโฆษณา
ออกแบบแสงสว่างและจำนวนดวงโคมที่ใช้ส่องป้ายโฆษณาสนามกีฬา
การจำลองแสงจากฟลัดไลท์หรือสปอร์ตไลท์รอบพื้นที่ไฟถนน
งานออกแบบแสงสว่างที่ผ่านมา
ออกแบบแสงสว่างงานป้ายโฆษณา
ออกแบบการเลือกใช้ไฟฟลัดไลท์-สปร์ตไลท์ สำหรับงานป้ายโฆษณา เพื่อจำลองให้ลูกค้าเห็นถึงความสว่างว่าเพียงพอตามที่ต้องการหรือไม่
ออกแบบแสงสว่างคลังสินค้าย่อย
ออกแบบการเลือกใช้โคมไฮเบย์ สำหรับพื้นที่คลังสินค้า เพื่อจำลองให้ลูกค้าเห็นถึงความสว่างว่าเพียงพอตามที่ต้องการหรือไม่
ออกแบบแสงสว่างคลังจัดเก็บสินค้า
ออกแบบการเลือกใช้โคมไฮเบย์ สำหรับพื้นที่คลังจัดเก็บสินค้าที่มีแร็คในการวางสินค้า เพื่อจำลองให้ลูกค้าเห็นถึงความสว่างว่าเพียงพอตามที่ต้องการหรือไม่